วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ผู้กำเนิดหมีพู

มิลน์ตั้งชื่อตัวละครวินนี่-เดอะ-พูห์ตามชื่อหมีเท็ดดีซึ่งบุตรชาย คริสโตเฟอร์ โรบิน มิลน์ เป็นเจ้าของ ผู้ซึ่งเป็นแบบของตัวละครคริสโตเฟอร์ โรบิน ของเล่นของคริสโตเฟอร์ยังได้ใช้เป็นชื่อของตัวละครอื่นส่วนใหญ่ ยกเว้นตัวละครนกฮูก กระต่ายและโกเฟอร์ ซึ่งเพิ่มเข้ามาในรุ่นดิสนีย์ หมีของเล่นของคริสโตเฟอร์ โรบิน ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่สาขาหลักของหอสมุดสาธารณะนิวยอร์กในนครนิวยอร์ก

Colebourn กับหมีวินนี่
คริสโตเฟอร์ มิลน์ตั้งชื่อหมีของเล่นของเขาว่า วินนี่ หมีดำแคนาดาซึ่งเขามักเห็นบ่อยที่สวนสัตว์ลอนดอน และ "พูห์" หงส์ที่พวกเขาพบขณะเป็นวันหยุด ลูกหมีตัวนั้นถูกซื้อมาจากนายพรานเป็นราคา 20 ดอลลาร์สหรัฐ โดยร้อยโทแคนาดา Harry Colebourn ในไวต์ริเวอร์ รัฐออนแทริโอ ประเทศแคนาดา ขณะเดินทางไปอังกฤษระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาตั้งชื่อหมีนั้นว่า "วินนี่" ตามชื่อเมืองเกิดของเขาในวินนีเพ็ก รัฐแมนิโทบา "วินนี่" ถูกลอบซื้อไปยังอังกฤษร่วมกับเจ้าของของมัน และกล่าวขานกันว่าเป็นมาสคอตประจำกรมฟอร์ตแกร์รีฮอร์สอย่างไม่เป็นทางการ Colebourn ทิ้งวินนี่ไว้ที่สวนสัตว์ลอนดอน ขณะที่เขาและหน่วยของเขาประจำอยู่ในประเทศฝรั่งเศส หลังสงคราม มันถูกบริจาคให้แก่สวนสัตว์อย่างเป็นทางการ เมื่อมันได้รับความสนใจรักใคร่เป็นอันมาก

ป่าแอชดาวน์: ฉากของเรื่อง[แก้]

เรื่องวินนี่-เดอะ-พูห์จัดว่าเกิดขึ้นในป่าแอชดาวน์ มณฑลซัสเซ็กซ์ อังกฤษ ป่านั้นอยู่ในบริเวณธรรมชาติงดงามที่ดีเด่นไฮวีลด์ (High Weald Area of Outstanding Natural Beauty) ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของกรุงลอนดอน 50 กิโลเมตร ใน ค.ศ. 1925 มิลน์ ซึ่งเป็นชาวลอนดอน ซื้อบ้านชนบทห่างจากป่าไปทางเหนือ 1 ไมล์ คริสโตเฟอร์ บุตรชายของมิลน์ ว่า ได้รับแรงบันดาลใจจากป่าแอชดาวน์ บิดาของเขาได้ใช้มันเป็น "ฉากหลักของหนังสือสองเล่มของท่าน โดยเล่มที่สองเสร็จนานกว่าสามปีหลังมาถึงเล็กน้อย"
สถานที่หลายแห่งในเรื่องสามารถเชื่อมโยงกับสถานที่จริงทั้งในและรอบ ๆ ป่าได้ ดังที่คริสโตเฟอร์ มิลน์เขียนในอัตชีวประวัติของเขา "ป่าของพูห์และป่าแอชดาวน์เหมือนกัน" ตัวอย่างเช่น "ป่าร้อยเอเคอร์" ในบันเทิงคดีนั้น แท้จริงแล้วคือ ป่าห้าร้อยเอเคอร์

แปลเป็นภาษาไทย[แก้]

เรื่องราวบางเรื่องของ Winnie-the-Pooh ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยโดยนักแปลนามปากกา "ต้อยติ่ง" โดยแปลบางตอนจากหนังสือหมีพูห์ทั้งสองเล่มรวมเป็นเล่มเดียว ชื่อว่า หมีปุ๊กลุกผจญภัย จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2522 โดยชมรมเด็ก
ในสำนวนแปลดังกล่าว นักแปลได้ตั้งชื่อภาษาไทยให้กับตัวละครต่าง ๆ ที่แตกต่างจากชื่อที่คุ้นเคยกันในปัจจุบัน ดังต่อไปนี้
  • Winnie-the-Pooh แปลเป็น หมีปุ๊กลุก
  • Christopher Robin แปลเป็น หนูปุ้ม
  • Eeyore แปลเป็น อี๋อ๋อ
  • Piglet แปลเป็น หมูเล็ก
  • Tigger แปลเป็น เสือน้อย
  • Rabbit แปลเป็น กระต่าย
ต่อมาได้รับการแปลอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2535 สำนวนแปลโดย แก้วคำทิพย์ ไชย แปลหนังสือเรื่อง Winnie-the-Pooh (1926) โดยใช้ชื่อเรื่องว่า วินนี่ เดอะ พูห์ (ใส่ไม้เอก และเว้นวรรคไม่มีขีด) จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์คลาสสิก
สำนวนแปลล่าสุด แปลโดย ธารพายุ ซึ่งแปลทั้งสองเล่มเต็มฉบับ ในชื่อว่า วินนีเดอะพูห์ (แปลจากเรื่อง Winnie-the-Pooh) และ บ้านมุมพูห์ (แปลจาก The House at Pooh Corner) จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์แพรวเยาวชนเมื่อปี พ.ศ. 2548

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น