วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ความเป็นมาของต๊กตาหมีเทดดี้เเบร์



แต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1939 ทำให้ธุรกิจ ตุ๊กตาหมี ชะงักงันลงอีก แทนที่คนงานจะผลิตตุ๊กตา ต้องไปผลิตยุทธปัจจัยสำหรับสงครามแทน บางบริษัทปิดตัวเองลงและไม่เคยเปิดอีกเลย

ความเปลี่ยนแปลงหลังปี 1950

ขณะที่ผู้ผลิตเทดดี้แบร์ดั้งเดิมยังคงภูมิใจกับตุ๊กตาที่เย็บด้วยมือ และเส้นใยจากธรรมชาติ แต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้ผลิตเหล่านี้ถูก ท้าทายด้วยความต้องการของลูกค้าที่ต้องการตุ๊กตาที่ซักได้ ตุ๊กตาที่ทำด้วยใยสังเคราะห์จึงเป็นที่นิยม ผู้ซื้อชอบแนวความคิดเรื่องตุ๊กตาซักได้ ตุ๊กตาหมี หลังสงครามโลกครั้งที่สองจึงถูกทำด้วยผ้าไนลอนหรือผ้าอะครีลิกเป็นส่วนใหญ่ ตาทำด้วยพลาสติก และยัดตัวหมีด้วยฟองน้ำ

ความนิยมที่หวนคืน

น่าแปลกที่ผู้ทำให้ความนิยมเทดดี้แบร์กลับมาอีกครั้ง หลังจากที่กลายเป็นสินค้าอุตสาหกรรมไปแล้ว กลับไม่ใช่เป็นผู้ผลิต แต่เป็นนักแสดงละครโทรทัศน์ที่ชื่อปีเตอร์ บูลของอังกฤษ ซึ่งเผยความรักที่เขามีต่อเทดดี้แบร์ และความเชื่อของเขาที่ว่าเทดดี้แบร์มีความสำคัญต่ออารมณ์ของผู้ใหญ่เช่นเดียวกัน ภายหลังจากเขาได้รับจดหมายถึง 2,000 ฉบับแสดงความเห็นด้วยกับการที่เขาเปิดเผยความรู้สึกต่อสาธารณะ ปีเตอร์รู้ว่าเขาไม่ได้รู้สึกเช่นนี้แต่เพียงลำพัง แรงบันดาลใจจากจดหมายเหล่านั้นทำให้เขาเขียนหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่ง เล่าประสบการณ์ของเทดดี้แบร์ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของเขา หนังสือชื่อว่า หมีกับฉัน ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็น “ เทดดี้แบร์บุ้ค ” ปรากฏว่าหนังสือของเขาตรงกับความรู้สึกของคนอีกหลายพัน ที่เชื่อว่าเทดดี้แบร์มีอิทธิพลต่ออารมณ์ของตนเช่นเดียวกัน ปีเตอร์ บูลสร้างกระแสความนิยมเทดดี้แบร์ให้กลับมาอีกครั้งโดยมิได้ตั้งใจ แม้จะไม่ได้มากเท่ากับสมัยที่เป็นความนิยมในฐานะของเล่นเด็ก แต่กลายเป็นความนิยมในฐานะของสะสมสำหรับผู้ใหญ่ เทดดี้แบร์ ในวันนี้จึง “ ไม่ใช่ของเล่น ” สำหรับเด็กอีกต่อไป

ตุ๊กตาหมี
Jenni สูง 18 นิ้ว ตุ๊กตาหมีผลิตในอังกฤษในยุคต้นๆ
ปี 1974 เบเวอร์ลี พอร์ต นักทำตุ๊กตาชาวอเมริกัน ผู้ชื่นชอบการทำ ตุ๊กตาหมี เธอนำ ตุ๊กตาหมี ฝีมือของเธอไปในงานแสดงตุ๊กตา ตุ๊กตาที่ชื่อ ธีโอดอร์ บี . แบร์ คล้องแขนกับตุ๊กตาอีกตัวหนึ่งไปแสดงในงาน ปีต่อมา เบเวอร์ลี นำภาพสไลด์ที่เธอสาธิตการทำ ตุ๊กตาหมี ให้กับชมรมตุ๊กตาของสหรัฐมาฉาย การสาธิตของเธอสร้างความตื่นเต้นและตื่นตัวให้กับผู้ชมเป็นอันมาก ความตื่นตัวเริ่มต้นจากสหรัฐอเมริกาแล้วก็ขยายออกไปทั่วโลก ผู้คนจำนวนมากได้รับอิทธิพลทางความคิดจากเบเวอร์ลี เริ่มแสดงความสามารถในการออกแบบ และตัดเย็บ ตุ๊กตาหมี ด้วยตนเองขึ้น นักออกแบบเทดดี้แบร์เกิดขึ้นมาคนแล้วคนเล่า ด้วยแรงบันดาลใจที่ได้รับจากเบเวอร์ลี ผู้สร้างคำว่า “ ศิลปินเทดดี้แบร์ ” ขึ้นมา และถูกยกย่องว่าเป็นมารดาแห่ง ศิลปะเทดดี้แบร์ ทุกวันนี้ศิลปินเทดดี้แบร์หลายพันคนทั่วโลก สร้างสรรค์ผลงานจากในบ้าน ไปสู่มือนักสะสมผู้ชื่นชมหมีน้อยที่น่ารักและอบอุ่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น