วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ประวัติผู้ออกแบบเทดดี้เเบร์

  1.                       ตุ๊กตาหมีเทดดี้เเบร์
เทดดี้แบร์เพิ่งจะปรากฏตนเป็นเพื่อนของเราเมื่อไม่นานมานี้เอง เรื่องราวเกิดขึ้นเมื่อ 100 ปีที่แล้ว ในปี ค . ศ . 1902 ที่เกิดเหตุการณ์ในคนละฟากมหาสมุทร ทั้งในสหรัฐอเมริกาและเยอรมัน จนเป็นกำเนิดของ ตุ๊กตาหมี ที่ชื่อ เทดดี้แบร์

เรื่องราวในสหรัฐอเมริกาเล่ากันว่า เทดดี้แบร์มาจากการวาดของนักเขียนการ์ตูนล้อการเมืองที่ชื่อ คลิฟฟอร์ด เบอร์รีแมน วาดภาพที่ชื่อว่า "Drawing the Line in Mississippi" เป็นภาพประธานาธิบดี ธีโอดอร์ รูสเวลท์ ปฏิเสธจะยิงลูกหมีที่ถูกจับล่ามเอาไว้กับต้นไม้ ตามเรื่องราวที่เล่ากันมาบอกว่า ประธานาธิบดีรูสเวลท์ เดินทางไปมลรัฐมิสซิสซิปปี้เพื่อช่วยเจรจาแบ่งเส้นพรมแดนที่มีปัญหากับรัฐลุยส์เซียน่า และเจ้าภาพให้การต้อนรับผู้นำของประเทศโดยชวนไปล่าหมีในป่า แต่โชคร้ายที่ไม่พบหมีให้ล่า จึงมีคนหัวใสนำเอาลูกหมีมาให้ แต่ประธานาธิบดีปฏิเสธที่จะยิงหมีที่ถูกล่ามเช่นนั้น ทำให้นายเบอร์รีแมนนักวาดภาพการ์ตูนประทับใจจึงวาดภาพนี้ขึ้นมา

การ์ตูนปรากฏใน เดอะวอชิงตันโพสต์ ฉบับวันที่ 16 พฤศจิกายน 1902 และเป็นที่กล่าวขวัญกันมาก เป็นแรงบันดาลใจให้สามีภรรยาที่ชื่อ มอร์ริส และโรส มิชทอมส์ ซึ่งอยู่ในนิวยอร์คทำ ตุ๊กตาหมี ขึ้น เพื่อยกย่องการกระทำของประธานาธิบดีรูสเวลท์ ครอบครัวมิชทอมส์ตั้งชื่อ ตุ๊กตาหมี ของตนว่า “ เทดดี้แบร์ ” มาจาก เทดดี้ อันเป็นชื่อเล่นของ ธีโอดอร์ รูสเวลท์ และนำวางโชว์ที่ตู้กระจกหน้าร้านขายลูกกวาดและเครื่องเขียนของตน ตุ๊กตาที่วางโชว์หน้าร้านตัวนี้ ต่างจาก ตุ๊กตาหมี ที่เคยทำกันมาซึ่งมักจะมีหน้าตาดุร้าย และยืนสี่ขาเหมือนกับหมีจริง แต่หมีของครอบครัวมิชทอมส์เป็นลูกหมีดูน่ารัก ไร้เดียงสา ยืนตัวตรงเหมือนหมีในการ์ตูนของเบอร์รี่แมน นี่อาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้ ตุ๊กตาหมี เทดดี้แบร์ ” ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า จนครอบครัวมิชทอมส์สามารถตั้งโรงงานผลิต ตุ๊กตาหมี ขึ้นเป็นครั้งแรกในอเมริกา ที่ชื่อว่า Ideal Novelty and Toy


Image
ภาพการ์ตูนในวอชิงตันโพสต์
ขณะเดียวกัน อีกฟากหนึ่งของมหาสมุทร ริชาร์ด ชไตฟ์ ชายหนุ่มผู้ทำงานกับป้า มาร์กาเร็ตเท ชไตฟ์
 ( Margarete Steiff) นักธุรกิจของเล่นเด็กในเยอรมัน ริชาร์ดเรียนมาทางด้านศิลปะ เขาชอบวาดรูป และไปที่สวนสัตว์ในสตุตการ์ตบ่อย ๆ เชไตฟ์ จะทำ ตุ๊กตาหมี ในเวลาไล่เลี่ยกัน แต่ขณะนั้นการสื่อสารยังไม่เจริญเท่าใด ทั้งคู่จึงไม่ล่วงรู้ถึงความคิดสร้างสรรค์ของกันและกัน ตุ๊กตาหมี ของมิชทอมส์เป็นลูกหมีตาโต ตามการ์ตูนที่วาดโดยเบอร์รี่แมน ส่วนของหมีชไตฟ์มีลักษณะหลังค่อม จมูกยาว ดูเหมือนลูกหมีจริง ๆ มากกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น