วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เนื้อเรื่องหมีพู


ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 กองทหารจากเมืองวินนิเพก ( Winnipeg ) มานิโทบา ( Manitoba ) ของแคนาดา ซึ่งกำลังเดินทางไปยังภาคตะวันออกของประเทศ เพื่อเดินทางต่อไปยังยุโรป สมทบกับกองพลทหารราบของแคนาดาที่ประจำการอยู่ก่อนแล้ว ขณะที่ขบวนรถไฟขนทหารแวะพักที่แม่น้ำไวท์ ( White River ) รัฐออนทาริโอ ร้อยเอก แฮรี่ โคลเบิร์น ได้ซื้อ ลูกหมี ตัวเมียสีดำในราคา 20 ดอลล่าห์ จากนายพรานซึ่งฆ่าแม่ของมันไปก่อนหน้านี้ และตั้งชื่อของมันว่า วินนิเพก ตามชื่อบ้านเกิดของเขา และเรียกชื่อมันสั้น ๆ ว่า วินนี่ (Winnie)



วินนี่เดอะพูห์
เอ.เอ.ไมล์น กับลูกชายคริสโตเฟอร์ โรบิน

วินนี่ กลายเป็น สัตว์เลี้ยงนำโชค ของกองพลทหาร และถูกนำไปยังอังกฤษพร้อมกับร้อยเอก แฮรี่ โคลเบิร์น เมื่อกองพลได้รับคำสั่งให้ไปประจำสนามรบที่ฝรั่งเศส ผู้กอง โคลเบิร์น จึงนำ วินนี่ ไปฝากไว้กับ สวนสัตว์ ในกรุง ลอนดอน เป็นการชั่วคราว (ภายหลังได้ยกให้กับสวนสัตว์เป็นการถาวร) ตั้งแต่เดือนธันวาคม 1919 และเป็นที่สนใจของเด็ก ๆ ในกรุงลอนดอนเป็นอันมาก มันมีชีวิตอยู่ต่อมาจนถึงปี 1934

ลูกหมี ตัวนี้เป็นที่ชื่นชอบอย่างมากของเด็ก ๆ ในกรุงลอนดอน รวมทั้ง คริสโตเฟอร์ โรบิน ลูกชายของ เอ.เอ.ไมล์น คริสโตเฟอร์ โรบิน มักจะมาหามันเป็นประจำ และเขาได้รับแรงบันดาลใจในการตั้งชื่อ ตุ๊กตา เท็ดดี้แบร์ ของเขาว่า วินนี่ หรือ วินนี่เดอะพูห์ – Winnie the Pooh (ในตอนแรก ตุ๊กตาหมี ของ คริสโตเฟอร์ โรบิน ชื่อว่า เอ็ดเวิร์ด) ส่วนชื่อ พูห์ มาจากชื่อของ หงส์ ที่อยู่ในบทกวีของ ไมล์น ที่เล่าเรื่องตอนที่เขาเป็นเด็ก



เอ.เอ.ไมล์น เขียนนิทานเกี่ยวกับ วินนี่เดอะพูห์ และลูกชายของเขาที่ชื่อ คริสโตเฟอร์ โรบิน และเพื่อนของเขาในป่า 100 เอเคอร์ โดยใช้ตัวละครจาก ตุ๊กตา ของลูกชาย ได้แก่ อียอร์, พิกเล็ต, ทิกเกอร์, แก็งกา และ รู ส่วน ริบบิต และ เอาล์ ก็มาจากสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม เช่นเดียวกับ หงส์ ที่ชื่อว่า พูห์ ที่บ้านเกิดในชนบทของเขาในฟาร์ม คอตช์ฟอร์ด ในป่า แอชดาวน์, เมืองซัสเซ็กซ์ ที่มีเนื้อที่ 100 เอเคอร์


วินนี่เดอะพูห์
ได้เวลาของน้ำผึ้งอีกแล้ว
หนังสือเรื่อง วินนี่เดอะพูห์ ตีพิมพ์ครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์ Methuen เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 1926, บทกวีเรื่อง Now We are Six ตีพิมพ์ในปี 1927 และเรื่อง The House at Pooh Corner ในปี 1928 หนังสือทั้งสามเรื่องนี้ วาดภาพประกอบโดย อี.เอช. ชีพาร์ด ซึ่งทำให้หนังสือมีชีวิตชีวาและสวยงามเป็นอย่างมาก หนังสือเรื่องของ พูห์ ได้รับความนิยมทั้งจากคนวัยเด็ก หนุ่มสาว และผู้สูงอายุ และถูกแปลออกไปเป็นภาษาต่าง ๆ เกือบจะทุกภาษา ตัวเลขยอดขายเฉพาะที่ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Methuen สำนักพิมพ์เดียว จนถึงปี 1996 มีมากกว่า 20 ล้านเล่ม ยังไม่รวมฉบับที่ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Dutton ในแคนาดา และสหรัฐ หรือภาษาอื่น ๆ มากกว่า 25 ภาษาในโลก


วินนี่เดอะพูห์
ภาพยนต์ Pooh's Grand Aventure
หนังสือชุดของ พูห์ ยังเป็นชื่นชอบของลูกสาว วอลท์ ดิสนีย์ ราชาภาพยนตร์การ์ตูน ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้ วอล์ท ดิสนีย์ นำเรื่องของ พูห์ มาสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนในปี 1966. ปี 1977 ดิสนีย์นำเอาภาพยนตร์การ์ตูนขนาดยาวเรื่อง การผจญภัยหลายครั้งของวินนี่เดอะพูห์ (the Many Adventures of Winnie the Pooh) เป็นครั้งแรก. ปี 1993 บริษัท วอล์ทดิสนีย์ ยอมรับว่า หมีพูห์ เป็นเพียงตัวละครตัวเดียวที่แฟน ๆ นับล้านคนทั่วโลกหลงรัก นอกเหนือจาก มิกกี้เมาส์ ในปี 1996 หลังจากภาพยนต์การ์ตูน วินนี่เดอะพูห์ เรื่องที่สองออกมา เจ้าหมีสมองน้อย ๆ ตัวนี้ก็ได้รับการยอมรับว่ามันได้รับความนิยมมากว่าตัวละครใด ๆ ของ วอล์ทดิสนีย์ ปี 1997 สามปีหลังจากภาพยนต์เรื่อง การผจญภัยหลายครั้งของวินนี่เดอะพูห์ ออกฉาย ดิสนีย์ ก็ได้ฉายภาพยนต์การ์ตูนเรื่อง Pooh's Grand Adventure หรือ การผจญภัยครั้งใหญ่ของพูห์ ซึ่งถือว่าเป็นงานระดับมาสเตอร์พีซของ วอล์ทดิสนีย์ อีกชิ้นหนึ่ง


วินนี่เดอะพูห์
วินนี่เดอะพูห์ ที่เป็น ตุ๊กตาหมี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น