บริษัทผู้ผลิตเทดดี้แบร์ของอเมริกาเผชิญหน้ากับการแข่งขันจาก ตุ๊กตาหมี เยอรมัน
ซึ่งผู้ผลิตส่วนใหญ่ของเยอรมันเป็นบริษัทเก่าแก่และมั่นคง
หลายบริษัทร่วมมือกับเสตียฟในการทำ ตุ๊กตาหมี
ที่มีคุณภาพออกมา อย่างเช่น บิง , ชูโก , และ เฮอร์มาน เป็นต้น
ทำให้บริษัทอเมริกันจำนวนมากสู้ไม่ได้ ต้องปิดกิจการไป
ในอังกฤษมีบริษัท เจ . เค . ฟาร์เนลแอนด์โค ที่เป็นต้นกำเนิดของ วินนี่เดอะพูห์
ซึ่งคริสโตเฟอร์ โรบิน ไมล์นได้รับเป็นของขวัญวันเกิดจากคุณแม่ในปี 1921
ห้าปีต่อมาพ่อของเขา เอ . เอ . ไมล์นพิมพ์หนังสือเรื่อง วินนี่เดอะพูห์
ออกจำหน่าย เป็นเรื่องการผจญภัยของลูกชายที่ชื่อคริสโตเฟอร์ โรบินกับ
วินนี่เดอะพูห์ และเพื่อนตุ๊กตาสัตว์อื่น ๆ
ทุกวันนี้เราสามารถชมตุ๊กตาของจริงที่เป็นแรงบันดาลใจในการเขียนเรื่อง
วินนี่เดอะพูห์ ได้ที่ห้องเซ็นทรัลชิลเดร็นของห้องสมุดสาธารณะนิวยอร์คสาขาดอนเนลล์
ในขณะที่หนังสือ วินนี่เดอะพูห์ ก็ยังคงได้รับความนิยมอย่างไม่เสื่อมคลาย
การชะงักงันในการผลิต ตุ๊กตาหมี ในยุโรป อันเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 1
ที่ยาวนานถึง 4 ปี ทำให้ ตุ๊กตาหมี ส่วนใหญ่ยังนิยมทำด้วยมือที่มีคุณภาพดี
มายาวนานถึง 25 ปี สงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ ตุ๊กตาหมี จากเยอรมันหยุดการผลิต จึงมีโรงงาน ตุ๊กตาหมี ใหม่ ๆ เกิดขึ้น เช่น ชาดเวลเล่ย์ ,
ชิลเทิร์น และดีน ร่วมมือกับ ฟาร์เนลล์ในอังกฤษ พินเทล และ ฟาดาป
ตั้งขึ้นในฝรั่งเศส จอยทอยส์ ในออสเตรเลีย เป็นต้น
วัสดุที่ใช้ในการทำตุ๊กตามีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน ตาที่ทำด้วยปุ่มรองเท้าบูต
เปลี่ยนเป็นตาที่ทำจากแก้ว
วัสดุที่ใช้บรรจุในตัวตุ๊กตาเปลี่ยนจากนุ่นเป็นวัสดุอย่างอื่นที่นุ่มกว่า
ตุ๊กตาหมีของ circa ในปี
1903
เก้าปีต่อมาแม้ว่าอเมริกาจะมีภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ และผู้ผลิต ตุ๊กตาหมี ส่วนใหญ่ประสบปัญหาการเงิน หลังจากปี 1929
บริษัทในอเมริกาจำนวนมากถ้าไม่หาวิธีทำ ตุ๊กตาหมี ด้วยต้นทุนที่ถูกลง ก็ต้องปิดตัวเองไป
ในระหว่างทศวรรษปี 1920-1930 หมีที่มีเสียงดนตรี และหมีไขลานเป็นที่นิยมกันมาก
มีการผลิตกันทั่วโลก บริษัทที่ขายดีที่สุดอาจจะเป็นบริษัทเยอรมันสองบริษัทที่ชื่อ
ชูโก และ บิง สองบริษัทนี้ทำทั้ง หมีที่เดินได้ เต้นรำได้ เล่นลูกบอล
และแม้กระทั่งหมีตีลังกา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น