ไม่นานหลังจากนั้น เดือนมีนาคมปี 1903 ในงานแสดงของเล่น เมืองลิปซิกในเยอรมัน
ชไตฟ์เปิดตัว ตุ๊กตาหมี ครั้งแรกในงานนี้
แต่พ่อค้าชาวยุโรปไม่ค่อยให้ความสนใจนัก ตรงกันข้ามพ่อค้าของเล่นชาวอเมริกัน
ซึ่งรู้ว่าชาวอเมริกันกำลังสนใจ “ เทดดี้แบร์ ” จึงสั่งซื้อทีเดียว 3,000 ตัว
ชไตฟ์จึงเข้าสู่ตลาดอเมริกาในจังหวะและโอกาสที่เหมาะสมอย่างที่สุด
หมีของชไตฟ์(Steiff)ยุคแรก
ปี 1906 ความคลั่งไคล้ ตุ๊กตาหมี เทดดีแบร์ของคนอเมริกันถึงขีดสุด พอ ๆ
กับความนิยมตุ๊กตาหัวกะหล่ำปลี (Cabbage Patch Kid) ในทศวรรษปี 1980
และตุ๊กตาบีนนี่บาบี้ (Beanie Babie) ในทศวรรษปี 1990 เวลานั้นสาว ๆ ถือ ตุ๊กตาหมี กันไปทุกหนแห่ง เด็กๆ
นิยมถ่ายรูปคู่กับตุ๊กตาเทดดี้แบร์ ประธานาธิบดีรูสเวลต์ ใช้ ตุ๊กตาหมี
เป็นสัญญลักษณ์ในการหาเสียงเลือกตั้งจนได้เป็นประธานาธิบดีในสมัยที่สอง ซีมัวร์
อีตัน
นักการศึกษาและคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์เขียนหนังสือชุดสำหรับเด็กเกี่ยวกับการผจญภัยของหมีที่ชื่อรูสเวลต์
นักแต่งเพลงชาวอเมริกันชื่อ เจ . เค . แบรตตัน แต่งเพลง “The Teddy Bear Two Step”
ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นชื่อ “The Teddy Bear's Picnic”
ซึ่งยังคงร้องกันมาจนถึงทุกวันนี้
ผู้ผลิต ตุ๊กตาหมี ในอเมริกาทำ ตุ๊กตาหมี ออกมาทุกสีสันและทุกประเภท ตั้งแต่ ตุ๊กตาหมี บนรองเท้าสเก็ตน้ำแข็ง ไปจนถึง ตุ๊กตาหมี ที่มีตาเป็นหลอดไฟ คำว่า “ เทดดี้แบร์ ”
กลายเป็นคำซึ่งเป็นที่เข้าใจกันว่าหมายถึง ตุ๊กตาหมี แม้กระทั่งชไตฟ์ผู้ผลิต ตุ๊กตาหมี ในเยอรมัน ก็รับเอาคำนี้ในการเรียก ตุ๊กตาหมี ของตน
ไม่ใช่เพียงบริษัทสตีฟและบริษัทไอเดียลเท่านั้นที่อยู่ในธุรกิจนี้
แต่มีบริษัทอีกนับสิบบริษัทในอเมริกาที่เปิดกันขึ้นมาในยุคนั้น
แต่ส่วนใหญ่แล้วก็ปิดกิจการในเวลาต่อมา เหลือเพียงบริษัท กันด์แมนูแฟคเจอริ่ง
ที่ก่อตั้งในปี 1906 และยังคงทำ ตุ๊กตาหมี มาถึงปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น